คำถามที่พบบ่อย

ต่อไปนี้คือคำถามที่พบบ่อย

ควรทำอย่างไรหากไม่แน่ใจถึงปฏิกิริยาที่ควรตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เผชิญอยู่

หากมีข้อสงสัยว่าสถานการณ์ การตัดสินใจ หรือการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเหมาะสมตามหลักจริยธรรมหรือไม่ สามารถอ้างอิงตารางในหน้า “คำถาม” ได้

ควรติดต่อใคร หากประมวลจริยธรรมไม่สามารถตอบข้อสงสัยที่มีได้

ในกรณีนี้ สามารถติดต่อ Ethics Line หรือแผนกกฎหมาย

นอกจากนี้ ยังมีช่องทางอื่นที่สามารถรายงานเรื่องร้องเรียนได้  โดยพนักงานสามารถติดต่อแผนกบุคคล,แผนกรักษาความปลอดภัย, แผนกกฎหมาย, ผู้จัดการฝ่าย หรือผู้จัดการในสายงานอื่น, เจ้าหน้าที่การแพทย์ขององค์กร หรือผู้แทนด้านจริยธรรมระดับภูมิภาค

เมื่อใดจึงควรแจ้งเรื่องผ่าน Ethics Line

หากพนักงานกลุ่มมิชลินได้รับรู้ข้อเท็จจริงที่อาจเข้าข่ายละเมิดต่อกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง, ต่อประมวลจริยธรรมฉบับนี้ หรือต่อหลักการหรือข้อกำหนดของกลุ่มมิชลิน จะต้องรายงานเพื่อให้เกิดการสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนเพื่อจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยมาตรการที่เหมาะสมและป้องกันไม่ให้เกิดกรณีเดียวกันซ้ำอีก

หากมีข้อสงสัยว่าสถานการณ์ การตัดสินใจ หรือการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดเหมาะสมตามหลักจริยธรรมหรือไม่ สามารถอ้างอิงตารางในหน้า “คำถาม” ได้

บุคคลผู้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวได้รับการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลของ Ethics Line เพื่อให้เกิดการสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนเพื่อจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยมาตรการที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้เกิดกรณีเดียวกันซ้ำอีก

แจ้งเรื่องร้องเรียนอย่างไร

“กลุ่มมิชลินได้เปิด Ethics Line เป็นช่องทางในการรายงานพฤติกรรมที่เข้าข่ายละเมิดต่อกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ที่เกี่ยวข้อง, ต่อประมวลจริยธรรมฉบับนี้ หรือต่อหลักการหรือข้อกำหนดของกลุ่มมิชลินเพื่อให้พนักงานและบุคคลที่สาม
ทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์”

“ระบบการแจ้งเรื่องร้องเรียนนี้ ซึ่งจัดทำและบริหารอย่างมืออาชีพโดยซัพพลายเออร์อิสระภายนอกองค์กรช่วยให้ทุกคน
…ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน พันธมิตร ลูกค้า ซัพพลายเออร์ หรือผู้รับจ้างช่วง…สามารถรายงานกรณีการละเมิดต่อกฎหมาย,
ระเบียบข้อบังคับ หรือประมวลจริยธรรมฉบับนี้ รวมถึงรายงานสถานการณ์ที่ขัดต่อหลักการหรือข้อกำหนดของกลุ่มมิชลิน
ได้อย่างสะดวก   คลิกเข้าสู่ Ethics Line ได้ที่นี่

นอกจาก Ethics Line แล้ว ยังมีช่องทางอื่นที่สามารถรายงานเรื่องร้องเรียนได้  โดยพนักงานสามารถติดต่อแผนกบุคคล, แผนกรักษาความปลอดภัย, แผนกกฎหมาย, ผู้จัดการฝ่าย หรือผู้จัดการในสายงานอื่น, เจ้าหน้าที่การแพทย์ขององค์กร หรือผู้แทนด้านจริยธรรมระดับภูมิภาค

ควรติดต่อใคร หากพบความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน

สามารถเลือกติดต่อได้ตามช่องทางต่อไปนี้

– ผู้จัดการฝ่าย
– เจ้าหน้าที่การแพทย์ขององค์กร
– เจ้าหน้าที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน (RGEP) ประจำหน่วยงาน
– หัวหน้าฝ่ายบุคคลประจำหน่วยงาน
– ผู้ประสานงานของคณะกรรมการกำกับดูแล (CoPil) ด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตในที่ทำงาน ประจำหน่วยงาน
Ethics Line

ควรติดต่อใคร หากประสบปัญหาเรื่องการเลือกปฏิบัติหรือการล่วงละเมิดในที่ทำงาน

สามารถเลือกติดต่อได้ตามช่องทางต่อไปนี้

– ผู้จัดการฝ่ายความหลากหลายและการมีส่วนร่วม
– ผู้ให้คำปรึกษาทางวิชาชีพ (Development Partner: PDP)
– ผู้จัดการฝ่าย
Ethics Line

กฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันอะไรบ้างที่มิชลินนำมาใช้

“ในฐานะองค์กรซึ่งบริษัทแม่ลำดับสูงสุดของกลุ่มองค์กร (Ultimate Parent) มีการซื้อขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศฝรั่งเศส กิจกรรมการดำเนินงานของกลุ่มมิชลินทั่วโลกอยู่ภายใต้กฎหมายประเทศฝรั่งเศสที่ว่าด้วยการทุจริต
คอร์รัปชันและการใช้อิทธิพลเรียกรับผลประโยชน์ โดยเฉพาะการกำหนดให้องค์กรนำมาตรการบางประการมาใช้เพื่อต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน”

“ในทำนองเดียวกัน ประมวลจริยธรรมฉบับนี้มีผลบังคับใช้กับกิจกรรมการดำเนินงานของมิชลินในประเทศฝรั่งเศส และ
ในทุกประเทศที่มิชลินเข้าไปดำเนินกิจการ  ในกรณีที่กฎหมายท้องถิ่นซึ่งมีผลบังคับใช้ในประเทศดังกล่าวมีความเข้มงวดกว่าที่ระบุไว้ในประมวลจริยธรรมฉบับนี้ ให้ยึดตามกฎหมายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศนั้นเป็นหลัก”

ทั้งนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของพนักงาน ร่วมกับแผนกกฎหมาย ที่จะต้องทำความเข้าใจขอบเขตข้อยกเว้นต่างๆ ให้ชัดเจน

ควรทำอย่างไร หากกฎหมายท้องถิ่นเข้มงวดกว่ากฎระเบียบของกลุ่มมิชลิน

กฎหมายและกฏระเบียบต่างๆ ทั่วโลกได้รับการประกาศใช้โดยหน่วยงานของรัฐในระดับต่างๆ อาทิ ระดับประเทศ เมือง ตำบล จังหวัด ฯลฯ  นอกจากนี้ กฎหมายและกฎระเบียบบางฉบับยังมีขอบเขตนอกอาณาเขตอีกด้วย

“ในบางประเด็น กฎหมายท้องถิ่นอาจเข้มงวดกว่าประมวลจริยธรรมฉบับนี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นให้ยึดกฎหมายท้องถิ่น
เป็นหลัก  อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ประมวลจริยธรรมฉบับนี้เข้มงวดกว่ากฎหมายท้องถิ่น ให้ยึดประมวลจริยธรรมฉบับนี้เป็นหลัก”

ควรติดต่อใคร หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่มีผลบังคับใช้

ควรติดต่อแผนกกฎหมาย

ควรทำอย่างไร หากแนวทางปฏิบัติซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปในประเทศที่ทำงานอยู่กลับเป็นข้อห้ามสำหรับกลุ่มมิชลิน

“ในบางประเด็น กฎหมายท้องถิ่นอาจเข้มงวดกว่าประมวลจริยธรรมฉบับนี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นให้ยึดกฎหมายท้องถิ่น
เป็นหลัก  อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ประมวลจริยธรรมฉบับนี้เข้มงวดกว่ากฎหมายท้องถิ่น ให้ยึดประมวลจริยธรรมฉบับนี้เป็นหลัก”

ควรทำอย่างไร หากสถานการณ์ส่วนตัว (หรือสถานการณ์ของครอบครัวหรือเพื่อน) มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่เอื้อหรือขัดต่อผลประโยชน์ของมิชลิน

ควรหารือประเด็นดังกล่าวกับผู้จัดการฝ่ายในทันที

สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ “หลักการจัดซื้อของมิชลิน” (Michelin Purchasing Principles) ได้จากที่ใด

พันธกิจของมิชลินที่เกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นมีอะไรบ้าง

ไม่ว่าจะประกอบกิจการอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม กลุ่มมิชลินมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานให้สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนดูแลให้มั่นใจว่าได้สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นเท่าที่จะเป็นไปได้  ด้วยเหตุนี้ จึงมีพันธกิจดังต่อไปนี้

  • ระบุความสนใจและความต้องการของประชากรที่อาศัยอยู่โดยรอบตั้งแต่ระยะแรกเมื่อเริ่มดำเนินโครงการจัดหาที่ดิน
    พัฒนาพื้นที่ปฏิบัติงาน และก่อสร้าง การให้คำปรึกษาแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจาก
    โครงการนี้ครอบคลุมกลุ่มต่างๆ ซึ่งอยู่ในข่ายเปราะบางมากที่สุด
  • มองหาโอกาสและปฏิบัติการที่ดีและเป็นประโยชน์สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท้องถิ่น (การจ้างงาน,โครงการร่วม
    พัฒนา), ป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์เชิงลบ, ปรับโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    ท้องถิ่นเท่าที่จะเป็นไปได้ และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพความปลอดภัย การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ
    หรือมรดกทางวัฒนธรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท้องถิ่นระหว่างทำการก่อสร้างหรือเมื่อพื้นที่ปฏิบัติงานเปิดดำเนินการ
  • รักษาการสื่อสารให้มีคุณภาพสูง โปร่งใส สม่ำเสมอ และตรงไปตรงมา กับทั้งชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    ทุกฝ่ายซึ่งอยู่ใกล้พื้นที่ปฏิบัติงาน
  • จัดตั้งกลไกรับเรื่องร้องเรียนในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือต่อประชากรท้องถิ่น ต้องดำเนินการจัดการ
    ข้อร้องเรียนแต่ละเรื่อง พร้อมทั้งนำเสนอแผนชดเชยและฟื้นฟู โดยแจ้งให้ชุมชนท้องถิ่นทราบถึงระบบรับเรื่องร้องเรียน
    ดังกล่าว

ในฐานะพนักงาน ประเด็นอะไรเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ที่พึงระลึกไว้เสมอ

เครือข่ายสังคมออนไลน์ อาทิ เฟซบุ๊ก (Facebook), ลิงก์อิน (LinkedIn), บล็อก (Blogs), กระดานสนทนา (Forums)
ฯลฯ เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงออก เรียนรู้ และแบ่งปันข้อมูลกับเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือคู่ค้า

ภายใต้บริบทนี้ ทุกคนต้องใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้วยความรับผิดชอบเพื่อรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงของกลุ่มมิชลิน

พนักงานสามารถอ้างอิงแนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัวได้จากคู่มือ ‘เครือข่ายสังคมออนไลน์: วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับพนักงาน’ (Social Networks: Best Practices for Employees)

เมื่อเป็นฝ่ายสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็น พนักงานทุกคนต้องปกป้องชื่อเสียงของกลุ่มมิชลิน ภาพลักษณ์แบรนด์ และหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ

สิ่งที่ควรทำ

  • ตั้งค่าบัญชีส่วนตัวด้วยที่อยู่อีเมลส่วนตัว
  • ระบุให้ชัดเจนว่าข้อความที่เขียนหรือโพสต์เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล และ/หรือ ระบุเพียงว่าเป็นข้อเท็จจริงส่วนบุคคล
    (ไม่เกี่ยวกับอาชีพการงาน) บนพื้นฐานประวัติชีวิตของตนเอง
  • หากโพสต์ข้อความที่เกี่ยวข้องกับมิชลินหรือกิจกรรมการดำเนินงานของมิชลิน แม้ข้อความดังกล่าวจะเป็นความคิดเห็น
    ส่วนบุคคล ให้ระบุด้วยว่าผู้โพสต์เป็นพนักงานมิชลิน
  • หากพบการใช้บัญชีปลอม ให้รายงานแผนกดิจิทัลและโซเชียลรูม (Digital & Social Room/DCEM) เนื่องจากกลุ่มมิชลิน
    อาจตกเป็นผู้เสียหายจากการโจรกรรมอัตลักษณ์ (Identity Theft)

สิ่งที่ไม่ควรทำ

  • ใส่โลโก้ของกลุ่มมิชลินไว้ในภาพอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
  • ใช้ชื่อกลุ่มมิชลินเป็นส่วนหนึ่งของ “ชื่อผู้ใช้” (Username)
  • กล่าวถึงพันธมิตร ลูกค้า หรือซัพพลายเออร์ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบล่วงหน้าจากบุคคลเหล่านี้
  • เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับซึ่งไม่ได้เป็นข้อมูลของตนเอง

ควรทำอย่างไร หากองค์กรพัฒนาเอกชนรายหนึ่งติดต่อเข้ามาเพื่อร้องเรียนเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของกลุ่มมิชลิน

ต้องส่งต่อข้อความที่ได้รับ (ทางวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษร) ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเจรจากับองค์กรภาค
ประชาสังคมทราบเพื่อตอบข้อความดังกล่าว ไม่ควรละเลยที่จะตอบข้อซักถามใดๆ