เครือข่ายสังคมออนไลน์

ระหว่างใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ พนักงานต้องทำให้มั่นใจว่าความคิดเห็นหรือความสนใจส่วนบุคคลจะไม่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นจุดยืนของกลุ่มมิชลิน

เมื่อใช้สื่อสังคมออนไลน์ การเคารพต่อเพื่อนร่วมงาน พันธมิตร ลูกค้า และคู่แข่ง ถือเป็นเรื่องสำคัญ

ด้วยเหตุนี้ มิชลินจึงให้ความสำคัญกับการระมัดระวังเมื่อสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์

media_et_reseaux_sociaux@2x

บริบท

เครือข่ายสังคมออนไลน์ อาทิ เฟซบุ๊ก (Facebook), ลิงก์อิน (LinkedIn), บล็อก (Blogs), กระดานสนทนา (Forums) ฯลฯ เปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงออก เรียนรู้ และแบ่งปันข้อมูลกับเพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือพันธมิตร

ภายใต้บริบทนี้ ทุกคนต้องใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้วยความรับผิดชอบเพื่อรักษาภาพลักษณ์และชื่อเสียงของกลุ่มมิชลิน

หลักปฏิบัติ

ในนามของกลุ่มมิชลิน ทีมงาน “สื่อสังคมออนไลน์” (Social Media) ภายใต้แผนกดิจิทัลและโซเชียลรูม (Digital & Social Room/DCEM) มีหน้าที่กำกับดูแลการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์

พนักงานสามารถอ้างอิงแนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัวได้จากคู่มือ ‘เครือข่ายสังคมออนไลน์: วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับพนักงาน’ (Social Networks: Best Practices for Employees)

เมื่อเป็นฝ่ายสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็น พนักงานทุกคนต้องปกป้องชื่อเสียงของกลุ่มมิชลิน ภาพลักษณ์แบรนด์ และหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ

พึงระลึกเสมอว่า...บุคคลผู้มีหน้าที่พูดในนามมิชลินบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จะต้องได้รับการเห็นชอบล่วงหน้าจากแผนกสื่อสารและบริหารแบรนด์ผลิตภัณฑ์ (Communication & Brands Department) ของแต่ละหน่วยงานเท่านั้น  หากมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อผู้จัดการฝ่ายสื่อสังคมออนไลน์ระดับประเทศหรือระดับภูมิภาค หรือแผนกโซเชียลรูม

สิ่งที่ควรทำ

  • ตั้งค่าบัญชีส่วนตัวด้วยที่อยู่อีเมลส่วนตัว
  • ระบุให้ชัดเจนว่าข้อความที่เขียนหรือโพสต์เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล และ/หรือ ระบุเพียงว่าเป็นข้อเท็จจริงส่วนบุคคล (ไม่เกี่ยวกับอาชีพการงาน) บนพื้นฐานประวัติชีวิตของตนเอง
  • หากโพสต์ข้อความที่เกี่ยวข้องกับมิชลินหรือกิจกรรมการดำเนินงานของมิชลิน แม้ข้อความดังกล่าวจะเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล ให้ระบุด้วยว่าผู้โพสต์เป็นพนักงานมิชลิน
  • หากพบการใช้บัญชีปลอม ให้รายงานแผนกดิจิทัลและโซเชียลรูม (Digital & Social Room/DCEM)  เนื่องจากกลุ่มมิชลินอาจตกเป็นผู้เสียหายจากการโจรกรรมอัตลักษณ์ (Identity Theft)

สิ่งที่ไม่ควรทำ

  • ใส่โลโก้ของกลุ่มมิชลินไว้ในภาพอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
  • ใช้ชื่อกลุ่มมิชลินเป็นส่วนหนึ่งของ “ชื่อผู้ใช้” (Username)
  • กล่าวถึงพันธมิตร ลูกค้า หรือซัพพลายเออร์ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบล่วงหน้าจากบุคคลเหล่านี้
  • เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับซึ่งไม่ได้เป็นข้อมูลของตนเอง

กรณีตัวอย่าง #1

คุณกำลังทำโครงการเครือข่ายจัดจำหน่ายใหม่ที่เป็นความลับ เพื่อนร่วมงานรายหนึ่งแนะนำให้สร้างกลุ่ม ‘ลิงก์อิน’ (LinkedIn) ขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันเอกสารต่างๆ  คุณสามารถทำตามข้อเสนอแนะนี้ได้หรือไม่

ไม่ได้ คุณควรปฏิเสธเพราะเอกสารภายในองค์กรของกลุ่มมิชลินไม่ควรถูกส่งหรือแลกเปลี่ยนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์  ทั้งนี้ คุณควรเสนอให้ใช้เครื่องมือสื่อสารภายในองค์กรของกลุ่มมิชลินแทนเพื่อให้การทำงานร่วมกันมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น

กรณีตัวอย่าง #2

คุณถ่ายภาพบรรยากาศงานเลี้ยงอำลาเพื่อนพนักงานรายหนึ่งเอาไว้ และต้องการเผยแพร่ภาพเหล่านั้นลงในเฟซบุ๊กของตนเอง คุณสามารถทำได้หรือไม่

ไม่ได้ เพื่อเคารพสิทธิของบุคคลในภาพ คุณต้องได้รับอนุญาตจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ ในการเผยแพร่ภาพใดๆ ก็ตาม ควรคำนึงถึงความเสี่ยงต่อการทำให้ตนเอง ผู้อื่น หรือหน่วยงาน เสื่อมเสียชื่อเสียง

ข้อมูลอ้างอิง:

ผู้ที่ควรติดต่อ:

  • ฝ่ายสื่อสังคมออนไลน์/แผนกดิจิทัลและโซเชียลรูม (Digital & Social Room/DCEM)